Select Page
โรคมะเร็งทางนรีเวช

โรคมะเร็งทางนรีเวช

โรคมะเร็งทางนรีเวช

🔸บทความทางการแพทย์

 

มะเร็งทางนรีเวชที่สำคัญและพบได้บ่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ นอกเหนือจากนี้มะเร็งทางนรีเวชที่สามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยเท่ามะเร็งข้างต้นได้แก่ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งเนื้อรก

ส่วนใหญ่ผู้หญิงในประเทศไทยจะเป็นมะเร็ง มะเร็งเต้านม ยังเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับหนึ่งทั้งของประเทศไทยและทั่วโลก โดยอันดับสองรองลงมาในส่วนของมะเร็งทางนรีเวชก็จะเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ ตามลำดับอายุที่มีโอกาสเกิดมะเร็งทางนรีเวช ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆปัจจัยและชนิดของมะเร็งนั้นๆ โดยเมื่อประมาณอายุโดยเฉลี่ยแล้วนั้น

มะเร็งปากมดลูก พบว่ามักวินิจฉัยเจอในช่วงอายุ 35-55ปี

มะเร็งโพรงมดลูก มักพบในคนไข้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว พบได้บ่อยในช่วงอายุ 55-64ปี

มะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องอายุที่มากกว่า50ปี พันธุกรรม (มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม) การกลายพันธุ์ของยีนBRCA มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมขึ้นข้างหนึ่งก่อนหน้า ผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนไวกว่าคนทั่วไป ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์และโรคอ้วน

ลักษณะอาการ จะสามารถแสดงออกมาได้หลายลักษณะ ทั้งในลักษณะ คลำได้ก้อน มีน้ำหรือเลือดไหลจากหัวนม เต้านมผิดรูป หัวนมบุ๋ม ผิวของเต้านมขรุขระ เจ็บตึงเต้านมหรือหัวนม เต้านมมีลักษณะบวมแดงหรือมีแผล

การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ คือการตรวจเต้านมโดยการคลำได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และแนะนำการตรวจคัดกรองด้วย Mammography ตั้งแต่อายุ 40 ปี

การรักษา เมื่อได้รับการยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว การรักษาจะรักษาโดยศัลยแพทย์ ซึ่งจะมีแนวทางการรักษาขึ้นกับระยะของโรค และระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งมีทางเลือก ทั้งการผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด การใช้ฮอร์โมนรักษา การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะต่อเซลล์มะเร็ง

มะเร็งปากมดลูก

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก คือการติดเชื้อ HPVชนิดก่อมะเร็ง โดยชนิดที่เป็นสาเหตุหลัก คือ HPV 16,18 ซึ่งส่วนใหญ่การติดเชื้อ HPV จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อ HPV และส่วนมากจะไม่แสดงอาการ ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การมีลูกหลายคน มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การสูบบุหรี่ การกินยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน

ลักษณะอาการ ในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ แต่อาจตรวจพบจาการตรวจPAP smear อาการที่มักพบมากที่สุดคือ เลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวปนเลือด เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน หากมะเร็งมีการลุกลามแล้ว อาจมีอาการทางเดินปัสสาวะอุจจาระผิดปกติ ได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ถ่ายลำบาก

การป้องกัน สามารถทำได้ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้ปากมดลูกติดเชื้อ HPV เช่นการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัย การมีคู่นอนคนเดียว และการฉีดวัคซีน HPV vaccine และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะ คือ PAP smear หรือ PAP test ร่วมกับ การหาเชื้อHPV(HPV DNA testing)

การรักษา  การรักษาขึ้นกับระยะของมะเร็งปากมดลูก โดยในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้ แต่หากเลยระยะเริ่มต้นไปแล้ว การรักษามีทั้งรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเดียว รักษาโดยการผ่าตัดและฉายแสง และรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ได้แก่ การมีเอสโตรเจนเกิน เช่นการรักษาสตรีวัยหมดประจำเดือนด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมลำพัง หรือ ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว ภาวะไม่เคยมีบุตร การมีประจำเดือนยาวนาน

ลักษณะอาการ มักแสดงออกในลักษณะการมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกผิดปกติ สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ

การป้องกัน แนะนำโดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดีงที่ได้กล่าวในข้างต้น และมาเข้ารับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

การรักษา การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คือการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อที่สามารถบอกระยะของโรค และอาจมีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และการฉายแสงตามมา ซึ่งขึ้นกับระยะและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของโรค

ปัจจุบันความรู้และการประสัมพันธ์เรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายที่น่าเชื่อถือ มีมากมายหลากหลาย อยากให้ทุกๆคน ใส่ใจสุขภาพ ศึกษาความรู้เหล่านี้ เพราะการป้องกันโรคขั้นแรกที่สำคัญก็คือการได้รับความรู้และนำความรู้ที่ได้ไปดูแลตัวเอง ที่สำคัญการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง อันจะนำไปสู่การป้องกันโรคได้ในหลายๆโรค และที่ขาดไม่ได้การมาตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ ก็เป็นสิ่งที่สามรถตรวจคัดกรองโรค และป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคตได้

พญ.สุปรีย์ บูรณะวงศ์ตระกูล

แพทย์สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, สูตินรีเวชกรรมมะเร็งนรีเวชวิทยา

 

มะเร็งตับอันตรายถึงชีวิต

มะเร็งตับอันตรายถึงชีวิต

มะเร็งตับอันตรายถึงชีวิต

🔸บทความทางการแพทย์

มะเร็งตับเกิดจากเซลล์บริเวณตับมีการทำงานผิดปกติและพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด ทั้งรี้มะเร็งตับแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

1. มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ของตับเอง

2. มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เช่น มะเร็งลำไส้ลุกลามมาที่ตับ

สำหรับมะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ตับเองก็จะประกอบด้วยมะเร็ง 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งพบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักพอในคนที่ชอบกิน ปลาร้า ปลาน้ำจืด หอยน้ำจืด ลักษณะ สุกๆดิบๆ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของพยาธิใบไม้ในตับ และมะเร็งอีกหนึ่งชนิด คือ Hepatocellular carcinoma (HCC) หรือเรียกอีกชื่อว่า เฮปาโตมา (Hepatoma) ซึ่งมักพบในภาวะตับแข็งจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งมะเร็งส่วนใหญ่ก็มักมีที่มาจากสาเหตุนี้

ลักษณะอาการของมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากซึ่งเป็นระยะที่ยากต่อการรักษา สำหรับอาการของมะเร็งตับ ในระยะเริ่มต้นของโรคอาจยังไม่มีอาการใด ๆ แต่หากมีอาการแน่นท้องในตำแหน่งลิ้นปี่หรือชายโครงขวา น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ตาเหลือง ปวดไหล่ข้างขวา ที่ไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ เนื่องจากมะเร็งมีขนาดใหญ่และลุกลามไปบริเวณกระบังลม อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวไหล่ได้ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าปวดกล้ามเนื้อแต่จริงๆ แล้วมีก้อนอยู่ที่ตับ หากมีอาการข้างต้นต้องรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

ขั้นตอนการตรวจหามะเร็งตับ

  1. แพทย์ทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย
  2. ตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับและค่ามะเร็งตับรวมถึงไวรัสตับอักเสบบีและซี
  3. ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไฟฟ้า (CT Scan) หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การรักษาโรคมะเร็งตับ

  1. การรักษามะเร็งตับนั้นจะขึ้นกับการทำงานของตับและการลุกลามของมะเร็งและสภาพร่างกายทั่วไปของผู้ป่วย ทั้งนี้การผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกยังคงเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ถ้าสภาพทั่วไปของผู้ป่วยพร้อมที่จะผ่าตัดและก้อนมะเร็งไม่ลุกลามอีกทั้งการทำงานของตับดีพอ
  2. การปลูกถ่ายตับสามารถทำได้ในกรณีของมะเร็งชนิดเฮปาโตมาในระยะเริ่มแรกและมีภาวะตับแข็งแรงจนไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนออกได้
  3. การใช้เข็มความร้อนเฉพาะที่เรียกว่า RFA (radiofrequency ablation) เป็นการทำลายเนื้องอกด้วยความร้อนโดยใช้เข็มแทงเข้าไปในก้อนทที่มีขนาดเล็กและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  4. การให้ยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือดดำในมะเร็งท่อน้ำดีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือมะเร็งจากอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายมาที่ตับ

การป้องกันมะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับ

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แบบสุกๆดิบๆ หากต้องการรับประทานปลาร้าควรเป็นปลาร้าที่ต้มสุก
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ
  3. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งเฮมาโตมา สามารถติดติ่ทางเลือดและเพศสัมพันธ์

นพ. เจษฎ์ ศุภผล 

แพทย์ศัลยกรรมโรคตับ ตับอ่อน ทางเดินน้ำดีและปลูกถ่ายอวัยวะ, ศัลยกรรมทั่วไป

 

 

ฟันปลอมมีกี่ประเภท

ฟันปลอมมีกี่ประเภท

ฟันปลอมมีกี่ประเภท

🔸บทความทางการแพทย์

ฟันปลอมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ฟันปลอมชนิดถอดได้ แบ่งได้ 2 แบบ

  • ฟันปลอมแบบใส่ได้ทั้งปาก เหมาะสำหรับคนที่ต้องสูญเสียฟันแท้หมดทั้งปาก ทั้งฟันบนและล่าง โดยฟันปลอมเป็นฐานอะคริลิคสีเหมือนเหงือก ซึ่งทันตแพทย์จะพิมพ์ปากคนไข้ และนำไปทำฟันปลอมในห้องปฏิบัติการทันตกรรม ซึ่งการทำฟันปลอมชนิดนี้จะใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าที่คนไข้จะได้รับฟันปลอมแต่ฟันปลอมจะแนบสนิทดีกับเหงือกในช่องปากคนไข้ ซึ่งคนไข้จะต้องทนไม่มีฟันเคี้ยวอาหารไปหลายเดือน แต่ถ้าไม่อยากรอก็สามารถทำฟันปลอมแบบ immediate dentist ได้ แต่ข้อเสีย คือ เป็นเพียงกระดูกที่รองรับฟันจะมีการเปลี่ยนแปลงและฟันปลอมหลวม และคนไข้ต้องมาทำฟันปลอมใหม่ในภายหลัง
  • ฟันปลอมแบบใส่บางชิ้น เหมาะสำหรับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปบางซี่เท่านั้น แต่ยังมีฟันแท้เหลืออยู่ แบ่งเป็น 2 แบบคือ ฐานอะคอย่างริลิค และฐานโลหะ โดยฐานอะคริลิคจะเป็นราคาถูกกว่า สามารถเติมฟันได้แต่จะใหญ่และหนากว่าและตกแตกง่าย ฐานโลหะจะแข็งแรงกว่าบางกว่านอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีตะข้อสีเหมือนฟัน + ฟันปลอมแบบฐานยืดหยุ่น (Flexible dentist) ซึ่งทำจากวัสดุโพลิเมอร์ ยืดหยุ่นได้ ตกไม่แตก แต่ข้อเสียคือ เติมฟันไม่ได้

2. ฟันปลอมชนิดติดแน่น แบ่งเป็น

2.1 สะพานฟัน คือ การใช้ฟันแท้ข้างเคียงเป็นหลักยึดโดยต้องกรอฟันธรรมชาติ

2.2 รากฟันเทียม คือ การฝังรากฟันเทียมลงไปตำแหน่งที่ฟันแท้ถูกถอนไป รอ 2-4 เดือน แล้วจะครอบฟันบนรากฟันเทียมซี่นั้นๆ

หากไม่ใส่ฟันปลอมจะส่งผลเสียอะไรบ้าง

  1. ฟันปลอมเปรียบเสมือนฟันชุดที่ 3 รองจกฟันน้ำนมและฟันแท้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่ต้องการถอนฟันออกหรือมีฟันไม่ครบ เพราะการมีช่องว่างระหว่างฟันแล้วไม่ใส่ฟันปลอมจะส่งผลให้ฟันที่อยู่ข้างเคียง ล้ม หรือเอียง และทำให้ฟันคู่สบยื่นยาวได้
  2. ทำให้การสบฟันผิดปกติ ส่งผลให้โครงสร้างของใบหน้าผิดรูปไปจากเดิม การไม่ใส่ฟันปลอมยังทำให้เหงือกอักเสบ เพราะเศษอาหารอาจจะมาแทรกเหงือกบริเสณที่ฟันหลุดออกไป
  3. เสี่ยงต่อการฟันผุเพราะมีเศษอาหารติดอยู่บริเวณซอกเหงือก
  4. ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่มีประสิทธิภาพเพราะคนที่มีฟันมีช่องว่า และไม่ใส่ฟันปลอมมักจะเคี้ยวอาหารเพียงข้างเดียวทำให้บดเคี้ยวไม่ละเอียดเกิดความเมื่อยล้าบริเวณกรามและกระเพาะอาหารทำงานหนัก
  5. พูดไม่ชัดในกรณีที่ฟันด้านหน้าหลุดส่งผลต่อการประกอบอาชีพ หน้าที่การงานและที่สำคัญไม่หย่อนไปกว่ากันคือทำให้เสียบุคลิกหมดความมั่นใจไม่กล้าส่งรอยยิ้มให้ใคร

ดูแลป้องกันฟันสวยและแข็งแรง

  1. แปรงฟันให้สะอาดและควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งเช้า-เย็น และควรใช้ไหมขัดฟันช่วย เพราะการแปรงฟันจะสามารถทำความสะอาดได้เพียงแค่ด้านหน้าและด้านบน แต่ระหว่าซอกฟันแปรงไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดได้
  2. ในกรณีที่อายุเริ่มมากขึ้นมีอาการเหงือกร่นลงไปในช่องระหว่างซอกฟันใหญ่การใช้ไหนขัดฟันอาจจะยังไม่เพียงพอ ต้องใช้แปรงสำหรับแปรงซอกฟันขนาดเล็ก

ทพ. รักเกียรติ การุญะกิจ 

ทันตกรรมประดิษฐ์, ทันตกรรมทั่วไป

 

 

การทรงตัวผิดปกติอันตรายแค่ไหน

การทรงตัวผิดปกติอันตรายแค่ไหน

การทรงตัวผิดปกติอันตรายแค่ไหน

🔸บทความทางการแพทย์

การทรงตัวผิดปกติอันตรายแค่ไหน

อวัยวะที่ควบคุมกลไกการทรงตัวของมนุษย์ประกอบไปด้วย

  1. ระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)
  2. ระบบสายตา การมองเห็น
  3. ระบบรักษาสมดุลโดยหูชั้นใน
  4. ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ

ทั้ง 4 อวัยวะนี้เป็นอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวของมนุษย์เพื่อให้เป็นปกติได้การทรงตัวที่ผิดปกติหรือการศูนย์เสียสมรรถภาพการทรงตัว อาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวที่กล่าวมาข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น ความผิดปกติของระบบประสาท ได้แก่โรคหลอดเลือดสมอง(หลอดเลือดสมองอุดตัน, เลือดออกในสมองตรงตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว เช่น กานสมอง, พาร์กินสัน เนื้องอกในสมอง หรือ ภาวะช่องน้ำในโพรงสมองโต เป็นต้น) นอกจากนี้แล้วอาจเกิดจาภาวะความผิดปกติของหูชั้นใน เช่น กลุ่มโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคตะกอนในหูอยู่ผิดที่ผิดตำแหน่ง, การมองเห็นภาพไม่ชัดเจนจากโรคต้อต่างๆ ทั้งภาวะสายตาสั้น ยาว เอียง รวมถึงกระดูกข้อต่อกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ เช่น กระดูกคอ กระดูกหลัง เสื่อมสภาพ ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะทรงตัวที่ผิดปกติได้เช่นกัน

ผู้ป่วยที่มีอาการทรงตัวผิดปกติมักจะมาตรวจด้วยปัญหาการทรงตัวไม่ดี มีอุบัติเหตุหกล้มบ่อยๆ มีการเดินที่ช้าลง โดยเฉพาะถ้าเกิดในผู้สูงอายุอาจถึงขั้นเดินน้อยลงหรือไม่กล้เดินเลย ส่วนอาการร่วมอื่นๆ นั้น จะแล้วแต่สาเหตุของโรคว่าเกิดจากอะไร เช่น ภาวะโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ผู้ป่วยอาจจะมีอาการทรงตัวผิดปกติเฉียบพลันร่วมกับอาการเวียนศรีษะ เช่น การมองเห็นภาพซ้อน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง และแขนขาอ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยประวัติจากผู้ป่วย, การตรวจร่างกาย, การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ อาจรวมถึงการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือ เอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้าสมอง การรักษาขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของการทรงตัวผิดปกตินั้นๆ เพื่อให้การรักษาจำเพาะในโรคนั้น ซึ่งบางโรคมีความสำคัญต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที การฟื้นสภาพปกติก็จะกลับมาอย่างรวดเร็วและปลอดภัยต่อผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีการทรงตัวผิดปกติจากหลอดเลือดสมองอุดตันจะได้รับการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น

การทรงตัวของมนุษย์มีความสำคัญที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตเป็นปกติได้แม่ว่าเราจะอายุมากขึ้นการทรงตัวก็ยังคงปกติ ดังนั้นหากพบความผิดปกติของการทรงตัว ทั้งแบบเฉียบพลัน, รุนแรง หรือมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจการรักษา เพราบางโรคนั้นสำคัญหากทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายได้

พญ. ตวงรัตน์ ตะเพียนทอง 

แพทย์อายุรกรรมโรคระบบประสาท, อายุรกรรมทั่วไป

 

ฝากครรภ์คุณภาพดีอย่างไร

ฝากครรภ์คุณภาพดีอย่างไร

ฝากครรภ์คุณภาพดีอย่างไร

🔸บทความทางการแพทย์

 

การฝากครรภ์คุณภาพ คือ การฝากครรภ์อย่ามีคุณภาพโดยมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ไม่ได้ดูแลเฉพาะคุณแม่เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการดูแลลูกน้อยในครรภ์ด้วย การดูแลครรภ์อย่างมีคุณภาพต้องดูคนไข้เฉพาะรายบุคคลไป เพราะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ควรดูว่าคนไข้แต่ละคนมีปัญหาหรือความเสี่ยงเฉพาะตัวหรือไม่ ถ้ามีแพทย์ก็จะดูแลให้เป็นพิเศษโดยมีการจำแนกคนในกลุ่มมีความเสี่ยงสูงกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่ำออกจากกันรายละเอียดข้อมูลที่ใช้ในการดูแลรักษาคนไข้ไม่เหมือนกัน การฝากครรภ์คุณภาพเปรียบเหมือนเราไม่ได้ใส่เสื้อที่ตัดเอาไว้สำเร็จรูปแล้ว แต่เป็นการตัดเสื้อแบบต้องมีการวัดไซด์ของเราโดยเฉพาะ เพื่อแพทย์จะรู้ว่าคนไข้เดินเข้ามาหาเขามีความเสี่ยงอะไรมาบ้าง

ในสังคนปัจจุบัน ผู้หญิงแต่งงานช้าลงและตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่มากขึ้นความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น หรือประกอบกับการมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวานระหว่าตั้งครรภ์, มีภาวะมีบุตรยากมาก่อน, ตั้งครรภ์แฝด หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ เหล่านี้ ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงซ้ำแพทย์ยิ่งต้องให้การดูแลเป็นพิเศษในคนไข้กลุ่มความเสี่ยงสูงเหล่านี้อีกทั้งจำนวนครั้งในการฝากครรภ์ก็มีความจำเป็น โดยควรฝากครรภ์ไม่น้อยกว่า 7 ครั้ง ตลอดการตั้งครรภ์ โดยควรฝากทันทีที่เริ่มทราบว่าตั้งครรภ์และไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ เพราะจะได้มีการคัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มต้นในไตรมาสแรก

ขั้นตอนการฝากครรภ์คุณภาพ เริ่มจากการสอบถามประวัติ หลังจากนั้นจะทำประเมินตามประวัติว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงอะไรเพื่อแพทย์จะให้ทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม แต่ถ้าคนไข้อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ก็จะทำการตรวจไปตามโปรแกรมปกติ สิ่งสำคัญ คือ การให้ความรู้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ว่าแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ควรดูตัวเองอย่างไร การฝากครรภ์คุณภาพจะดูแลไปจนถึงหลังคลอดต้องให้ความรู้กับคนไข้เพื่อจะกลับไปดูแลตัวเองและลูกหลังคลอด เชื่อโยงไปจนถึงการให้นมลูกด้วย

พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร 

แพทย์สูตินรีเวชกรรมทั่วไป, สูตินรีเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

 

การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก

การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก

การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก

🔸บทความทางการแพทย์

 

ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก เป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุจมูก อักเสบเรื้อรังเช่นภูมิแพ้จมูก ไซนัสอักเสบ ในปัจจุบัน มีหลายยี่ห้อแพทย์จะเลือกตามอายุของคนไข้และโรคที่ผู้ป่วยเป็น ได้แก่ Nasonex, Avamys, Nasacort, Flixonase, Rhinocort , Dymista

วิธีการใช้

1. ใช้พ่นจมกู

  • ควรล้างจมูกหรือสั่งน้ำมูกก่อนพ่น เพื่อให้ยาสัมผัสเยื่อบุจมูกโดยตรง
  • เขย่าขวดก่อนใช้ เปิดฝาออก
  • จับขวดยาในแนวตั้ง

ขวดแบบกดด้านบน (Nasonex, Nasacort, Flixonase, Rhinocort) ใช้นิ้วชี้และนิวกลาง ตรงที่ไหล่ของขวดนิ้วโป้งอยู่ที่ฐานขวด

ยากดด้านข้าง (Avamys) ใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วกลางและนิ้วชี้ เป็นตัวกด (แถบสีฟ้า)

  • ตั้งแนวให้สอดปลายยาพ่นเข้าไปในโพรงจมูกปลายยาชาจากแนวรูจมูกไปหัวตาข้างเดียวกัน ไม่ให้ปลายยาพ่นชนปีกจมูก (ปีกจมูกต้องไม่ยก) เพื่อให้ละอองยาพ่นขึ้น ไปถึงเยื่อบุจมูก
  • กดข้างละ 1 กด ตามแพทย์สั่ง หากต้องพ่นข้างละ 2กด ให้พ่นสลับ ขวาซ้าย ขวาซ้าย
  • สูดหายใจเข้าหลังพ่น
  • หลังพ่นเสร็จให้ใช้กระดาษสะอาดเช็ดปลายยาพ่น

2. ผสมน้ำเกลือล้างจมูก ในบางกรณีแพทย์จะสั่งให้มีการผสมยาพ่นกับน้ำเกลือที่ใช้ล้างจมูก เพื่อให้ยากระจายเข้าไปถึงเยื่อบุจมูก ด้านบนได้ดีขึ้น

  • เตรียมแก้วหรือถ้วยสะอาดที่มีขนาดเหมาะสมสาหรับใส่น้ำ เกลือล้างจมูก
  • คว่ำแก้วให้ครอบปลายขวดยาพ่น
  • พ่นยาตามจานวนกดที่แพทย์สั่ง
  • หงายภาชนะขึ้น
  • เติมน้ำเกลือล้างจมกู ใส่ภาชนะตามปริมาณที่กำหนด แล้วคนให้เข้ากัน
  • ใช้ล้างจมูกจนหมด

คำแนะนำ : ไม่เพิ่มปริมาณน้ำเกลือที่ต้องใช้ผสมเอง เพื่อไม่ให้ความเข้มของยาเจือจางและเมื่อผสมแล้วล้างให้หมดไม่เก็บ ไว้

พญ.ธัชขวัญ อินทปันตี  

แพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ ศูนย์ภูมิแพ้และแพ้อาหารโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน