Select Page
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

🔸บทความทางการแพทย์

ภาวะหัวใจวายทางการแพทย์เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (Heart Attack) หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน โรคนี้เกิดจากการอุดตันในเส้นเลือดซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เนื่องจากการอุดตันของเส้นเลือดหรือการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยจะทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อที่หัวใจหากไม่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจนาน ๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวค่อยๆตาย

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  1. อายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน เส้นเลือดก็จะค่อยๆ ตีบตันไปเรื่อย ๆ จนคนไข้มีภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
  2. กลุ่มที่ไม่ทราบอาการ เส้นเลือดหัวใจเดิมอาจมีรอยตีบตันเล็กน้อยหรือว่ามีไขมันเกาะอยู่เล็กน้อย วันหนึ่งเกิดอาการแตกหรือปริออกจากทางด้านในหลอดเลือด (Luminal side) อาจตีบขึ้นจาก 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นมาเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกและทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
  3. ผู้ที่มีการสะสมของไขมันในเส้นเลือดแดงจะทำให้เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยไขมันที่สะสมนั้นเกิดจากไขมัน Cholesterol และสารอื่น ๆ รวมกัน เกาะอยู่ภายในเยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นใน ภาวะนี้เรียกว่า atherosclerosis หรือภาวะเส้นเลือดแดงแข็ง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีอยู่หลายปัจจัยซึ่งหลักๆ คือ

  1. การสูบบุหรี่
  2. ไขมันในเส้นเลือดสูง
  3. เบาหวาน
  4. ความดันโลหิตสูง
  5. โรคอ้วน

ลักษณะอาการของโรค

ภาวะหัวใจวายฉับพลันโรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันบางรายอาจมีสุขภาพปกติแข็งแรงดีแต่อยู่ ๆ ก็มีอาการผิดปกติ อาการผิดปกติที่สำคัญ เช่น  มีอาการเจ็บหน้าอกฉับพลัน มีเหงื่อออกตามร่างกาย เหนื่อยง่าย หายใจถี่ วิงเวียน หน้ามืด ชีพจรเต้นเร็ว  ถ้าคนไข้มีการสูบบุหรี่เยอะจะมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้มากกว่าคนอื่น ๆ การสูบบุหรี่คนส่วนใหญ่จะมองว่าต้องเป็นมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง แต่ความจริงที่ภัยที่มาจากบุหรี่ ทางด้านหัวใจก็อันตรายไม่แพ้กัน เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ไขมันเกาะอยู่ตามเส้นเลือดที่จะเกิดการปริง่ายกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่  ถ้าเส้นเลือดเกิดการปริขึ้นมาเกร็ดเลือดทุกชนิดก็จะมาเกาะรวมกันเพราะฉะนั้นจากเส้นเส้นเลือดที่ตีบ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ภายในไม่กี่วินาทีก็เป็นไปได้ และมีความอันตรายมากกว่า  

ขั้นตอนการรักษา

หัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่าเฉียบพลันที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะยิ่งรักษาเร็วก็จะสามารถยับยั้งความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจและช่วยให้การฟื้นฟูเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจขาดเลือด

  1. การรักษาโดยใช้ยาสลายลิ่มเลือด แพทย์จะฉีดยาที่มีฤทธิ์ในการละลายเลือดที่อุดตันอยู่ที่เส้นเลือดแดงหัวใจ มักจะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเร็วและไม่มีข้อห้ามในการใช้
  2. การรักษาโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน วิธีนี้ได้ผลการรักษาดีกว่าการใช้ยาละลานลิ่มเลือดผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัด พักฟื้นไม่นานแต่ต้องทำในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ห้องฉีดสีสวนหัวใจ ทีมแพทย์ พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด
  3. การรักษาโดยการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ส่วนมากทำในกรณีที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันหลายเส้น และไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีอื่นได้

 

นพ. ทยานนท์ คุณาวิศรุต 

แพทย์อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด, อายุรกรรมทั่วไป

ปวดท้องประจำเดือนเรื่องที่ผู้หญิงควรรู้

ปวดท้องประจำเดือนเรื่องที่ผู้หญิงควรรู้

ปวดท้องประจำเดือนเรื่องที่ผู้หญิงควรรู้

🔸บทความทางการแพทย์

อาการปวดประจำเดือนคืออาการปวดบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานในช่วงระหว่ามีประจำเดือนหรืออาจมีอาการปวดท้องก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน บางรายอาจมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้ หรือถ่ายเหลวร่วมด้วยโดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นสม่ำเสมอตามรอบของประจำเดือน พบว่าผู้หญิงที่อยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ 60-90 เปอร์เซ็นต์ มีอาการปวดท้องประจำเดือนโดยมีอาการปวดมากน้อยแตกต่างกันไปและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุโดยทั่วไปจะแบ่งประเภทของการปวดท้องประจำเดือนเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. การปวดท้องประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ

การประจำเดือนที่ไม่พบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน โดยอาการปวดเกิดจากโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงที่มีประจำเดือน โดยสารตัวนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดในมดลูกหดรัดตัวทำให้เกิดอาการปวดท้องขึ้น การปวดประจำเดือนโดยสารชนิดปฐมภูมินี้มักพบในวัยรุ่นและเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดจะดีขึ้น ในบางรายหายไปเลยหลังมีบุตรและอาการปวดมักจะเป็นแค่ช่วงวันแรกๆที่มีประจำเดือน

2. การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ

การปวดประจำเดือนที่ตรวจพบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, ช็อคโกแลตซีสต์ที่รังไข่, เนื้องอกมดลูก เป็นต้น การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมินี้มักเกิดในกลุ่มอายุ 25-30 ปีขึ้นไป โดยอาการปวดมักจะปวดทุกวันที่มีเลือดประจำเดือน, มีประจำเดือนมามาขึ้น, มีภาวะมีบุตรยาก มีอาการเจ็บลึกในอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วยได้

อาการปวดประจำเดือนแบบไหนที่ถือว่าผิดปกติ

อาการปวดท้องประจำเดือนที่มีความรุนแรงมากขึ้น ดูแลตัวเองด้วยอาการเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีความผิดปกติที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุ  และให้การรักษาต่อไป

วิธีดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อปวดท้องประจำเดือน

การบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนในเบื้องต้น มีทั้ง แบบไม่ต้องใช้ยา ได้แก่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, ประคบน้ำอุ่นบริเวณท้องน้อยและหลังล่าง, การนวด, ฝังเข็ม แบบใช้ยาโดย รับประทานยาพาราเซตามอล หรือ ยากลุ่ม NSAIDs เช่น พอนสแตน,​ไอบูโพรเฟน ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการแพ้ยาและผลข้างเคียงจากยาด้วย

การรักษาอาการปวดท้องประจำเดือน

สูตินรีแพทย์จะทำการหาสาเหตุและวินิจฉัยโรคจากการสอบถามประวัติ, ตรวจร่างกาย, ตรวจภายใน, ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ หรือบางรายอาจจะพิจารณาทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจภายในช่องท้องเพื่อวางแผนการรักษาด้วยยา, ฮอร์โมน หรือการผ่าตัด ตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคลไป

วิธีการป้องกันหรือบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้มีฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphine) หลั่งออกมามากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำให้อารมณ์ดี
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ลดความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้
  6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  7. รับประทานอาหารที่มีเกลือแร่และวิตามิน เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช
  8. เลือกรับประทานอาหารประเภทปลามากกว่าสัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู

พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร 

สาขาปฏิบัติงาน: สูตินรีเวชกรรมทั่วไป, สูตินรีเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

 

ไอกลางคืนหรือไอเวลาวิ่ง เป็นเรื่องปกติไหม

ไอกลางคืนหรือไอเวลาวิ่ง เป็นเรื่องปกติไหม

ไอกลางคืนหรือไอเวลาวิ่ง เป็นเรื่องปกติไหม

🔸บทความทางการแพทย์

อาการไอกลางคืน หรือ ไอเวลาวิ่ง เป็นเรื่องปกติไหม?

อาการไอ เป็นอาการที่พบบ่อยในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หวัด ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหืด กรดไหลย้อน เป็นต้น แล้วอาการไอแบบไหนที่ชวนให้สงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคหืดหรือมีภาวะหลอดลมไว มาดูกันค่ะ

มีอาการไอซ้ำๆ เวลาวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย ไอตอนหัวเราะ หรือร้องไห้ในช่วงที่สบายดีไม่ได้เป็นหวัด

ตื่นมาไอกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว

ไอเรื้อรังหลายสัปดาห์ หรือเป็นหวัดแล้วไอนานกว่าปกติ (ปกติโรคหวัดจะไอ 1-2 สัปดาห์)

มีอาการของโรคภูมิแพ้อื่นร่วมด้วย เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แพ้อาหาร

มีประวัติญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่น้อง) เป็นภูมิแพ้หรือโรคหืด

มีอาการไอเมื่อเจออากาศเย็น ควันบุหรี่ ฝุ่นมลพิษ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนแมว ขนสุนัข ละอองเกสร ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สบายดี

มีประวัติว่าแพทย์ตรวจร่างกายแล้วได้ยินเสียงวี้ด (wheeze) ที่ตอบสนองดีต่อยาขยายหลอดลม

มีประวัติเคยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างจาก RSV, rhinovirus มาก่อน

ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรมาพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และแพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ภาพถ่ายรังสีปอด, ตรวจสมรรถภาพปอด, ทดสอบภูมิแพ้ หรือลองให้ยาพ่นรักษาแบบโรคหืดนาน 2-3 เดือน หากอาการดีขึ้นหลังใช้ยา และกลับมาเป็นใหม่หลังหยุดยา แสดงว่าอาการไอนั้นน่าจะเกิดจากโรคหืดค่ะ

พญ. กัญลดา ว่องวรภัทร

แพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ ศูนย์ภูมิแพ้และแพ้อาหารโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

โรคภูมิแพ้ทางจมูก

โรคภูมิแพ้ทางจมูก

โรคภูมิแพ้ทางจมูก

🔸บทความทางการแพทย์

 โรคภูมิแพ้จมูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 40 ของประชากรทั่วไป และพบว่าอุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปจะเกิดการอักเสบของเยื่อจมูก ได้แก่ อาการคัน น้ำมูกไหล จาม และคัดจมูก แม้ว่าโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้นี้มักไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่น เช่น หูชั้นกลางอักเสบ โรคหืด ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก นอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับตามมา
อาการ
ผู้ป่วยมีอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล และคันจมูกชอบขยี้จมูก จนเกิดรอยบริเวณสันจมูก มีเสมหะในคอ เลือดกำเดาไหลบ่อย และอาจพบอาการคันตา แสบตา น้ำตาไหล คันหู หูอื้อ ร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเวลาสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือเมื่อเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้น ตลอดจนฝุ่นละอองในอากาศ บางคนที่เป็นเรื้อรัง จะพบมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย

การวินิจฉัย
อาศัยประวัติของอาการโรคภูมิแพ้จมูกร่วมกับการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะระบบหู คอ จมูก นอกจากนี้ยังตรวจเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ ทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงได้อย่างถูกต้อง ได้แก่

  •  การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง แพทย์จะใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังที่แขน แล้วใช้เข็มสะกิดตรงกลางหยดน้ำยา เพื่อเปิดผิวหนังชั้นบนออก ถ้าผู้ป่วยมีปฏิกิริยาอักเสบจากภูมิแพ้ที่จำเพาะต่อสารภูมิแพ้นั้น ก็จะเกิดรอยนูนและผื่นแดง และจะมีอาการคัน
    ข้อดี คือ ทราบผลเร็ว อ่านผลได้ในเวลา 20 นาที หลังจากการทดสอบ ราคาไม่แพง
    ข้อจำกัด คือ ผู้ป่วยต้องหยุดยาแก้แพ้ก่อนวันที่จะทดสอบ 7 วัน และต้องไม่มีการอักเสบของผิวหนังตำแหน่งที่จะทำการทดสอบ
  • การหาปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในเลือด
     ข้อดี คือ ไม่เจ็บและไม่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้มาก ไม่จำเป็นต้องงดยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ สามารถตรวจหาสารที่ผู้ป่วยแพ้ได้หลายชนิด
     ข้อเสีย  มีราคาสูง

การรักษา
1. การหลีกเลี่ยงหรือกำจัดสิ่งที่แพ้
เป็นการรักษาที่สำคัญที่สุด โดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้หรือกำจัด หรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ใน
สิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหลือน้อยที่สุด แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตว่าสารหรือภาวะแวดล้อมอะไรที่ทำให้อาการเป็นมาขึ้น เพื่อจะได้หลีกเลี่ยง
2. การรักษาด้วยการใช้ยา ได้แก่
ยาแก้แพ้ จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อให้ยาก่อนที่จะสัมผัสกับสารก่อภูมแพ้ การใช้ยากลุ่มนี้แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากและอาการเพียงครั้งคราว
            ยาบรรเทาอาการคัดจมูก มีทั้งในรูปแบบรับประทาน และใช้เฉพาะที่ ทำให้หลอดเลือดหดตัว และเนื้อเยื่อจมูกยุบบวมทำให้อาการคัดจมูกน้อยลง
        ยาสเตียรอยด์ สามารถให้ได้ในรูปแบบรับประทาน และชนิดพ่นจมูก โดยยาสเตียรอยด์พ่นจมูกถือเป็นการรักษามาตราฐานของโรคนี้ โดยเป็นยาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ สามารถใช้ป้องกันและควบคุมอาการ ควรใช้ต่อเนื่องทุกวัน โดยแพทย์จะนัดมาดูอาการเพื่อปรับลดขนาดยาเป็นระยะ

3. วิธีการอื่นๆ ได้แก่ การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ และการผ่าตัด

การฉีดวัคซีน (allergen immunotherapy) เป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ ที่คิดว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเข้าไปร่างกายทีละน้อย โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนจนได้ขนาดสูงสุดที่ผู้ป่วยรับได้ ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือมีโรคหอบหืดร่วมด้วย การฉีดวัคซีนนี้เป็นวิธีเดียวที่มีแนวโน้มว่าจะรักษาโรคโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ให้หายได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ระดับภูมิคุ้มกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีนในระยะแรกของโรคเมื่อมีข้อบ่งชี้ เพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา และป้องกันไม่ให้อาการของโรคที่เป็นอยู่รุนแรงรวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนจากโรคตามมา
การผ่าตัด ทำในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคันมาก หลังจากให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้นหรือมีโรคบางอย่างร่วมด้วย เช่น ริดสีดวงจมูก ผนังกั้นจมูกคด ไซนัสอักเสบที่ไม่ดีขึ้น หลังการให้การรักษาด้วยยา

     โรคภูมิแพ้จมูกสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาการพ่นยาในจมูก การฉีดวัคซีนภูมิแพ้เป็นประจำ และการรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดร่วม เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น การรักษาโรคแพ้อากาศต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเอง และแพทย์ในการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การดูแลตนเองของผู้ป่วย และดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เหล่านี้จะช่วยทำให้อาการของโรคทุเลาลงมาก จนไม่มีอาการเลย

ศูนย์ภูมิแพ้และแพ้อาหารโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

เตรียมพร้อมรับมือ PM 2.5

เตรียมพร้อมรับมือ PM 2.5

เตรียมพร้อมรับมือ PM 2.5

🔸บทความทางการแพทย์

ช่วงปลายปีเราจะเริ่มสังเกตเห็นว่าท้องฟ้าดูฝ้ามัว เห็นวิวรอบข้างไม่ชัด ใช่ค่ะ pm2.5มาแล้ว ซึ่งเราจะต้องพบปัญหาpm 2.5สูงอย่างนี้ไปทุกปี pm2.5ซึ่งเป็นฝุ่นพิษที่มีขนาดเล็กจนสามารถซึมเข้ากระแสเลือดและมีผลกับอวัยวะต่างๆในร่างกายเรา โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคปอดและหลอดลมรวมถึงผู้ป่วยภูมิแพ้ จะได้รับผลกระทบและมีอาการที่ผิดปกติได้ ดังนั้นวันนี้จะมาเตรียมตัวสู้ฝุ่นpm2.5กันนะคะ

1. ติดตามและเช็คคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ

 – สำหรับประเทศไทยจะใช้ข้อมูลติดตามสถานการณ์ปัญหาหมอกควัน โดยใช้ “ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air quality index, AQI) ซึ่งเมื่อค่าAQIมากกว่า100แสดงว่าคุณภาพอากาศไม่ดีและมีผลต่อสุขภาพ ดังนั้นควรมีการเช็คสภาพอากาศและระดับ AQIเป็นระยะ โดยสามารถเช็คได้จาก Application “ Air4Thai” หรือสามารถเช็คคุณภาพอากาศแบบ real timeได้ที่ลิงค์ http://aqicn.org/city/bangkok

2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน

 – จำกัดเวลาในการทำกิจกรรมที่อยู่นอกอาคาร

 – หลีกเลี่ยงการออกกำลังการหรือกิจกรรมที่ออกแรงหนัก

3. ใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันpm2.5

– ควรเลือกใช้หน้ากากที่มีเครื่องหมาย NIOSHทั้งประเภทN95หรือ P100 ที่มีขนาดพอเหมาะครอบได้กระชับทั้งจมูกและใต้คางแนบสนิทกับใบหน้า

– หากไม่สามารถหาหน้ากากN95ได้ก็สามารถใช้การใช้หน้ากากธรรมดาได้(แต่อาจไม่สามารถป้องกันฝุ่นได้ดีนัก) โดยต้องสวมให้แนบสนิทกับใบหน้า

– ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอดควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ และในเด็กเล็กไม่แนะนำให้ใส่N95

4. เตรียมห้องและที่อยู่อาศัยอย่างถูกวิธี

– ควรให้ในบ้านมีห้องที่สะอาด มีประตูหน้าต่างน้อยที่สุด ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดและปิดรูหรือช่องที่อากาศจากภายนอกเข้ามาในอาคาร

– ทำความสะอาดห้องอยู่เสมอ โดยช้ผ้าชุบน้ำหมาด ไม่ใช้ไม้กวาดหรือเครื่องดูดฝุ่น 

– ควรใช้เครื่องปรับอากาศเอช่วยหมุนเวียนอากาศและปรับอุณหภูมิให้เหมาะ 

– ใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดเหมาะกับห้องที่ต้องอยู่อาศัย

5เตรียมยาประจำตัว และสังเกตอาการที่ผิดปกติ

– ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรรับยาและรักษาต่อเนื่อง

– ผู้ป่วยโรคปอดหรือหอบหืดควรเตรียมยาสำหรับกรณีอาการกำเริบ เช่น ยาขยายหลอดลมให้พร้อม

 – สังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติ เช่น แสบโพรงจมูก แสบเคืองตามาก หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ ควรรีบไปพบแพทย์

     หากเราเตรียมตัวและทราบวิธีรับมืออย่างถูกต้อง ก็จะสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นpm2.5 ทราบการสังเกตอาการว่าเมื่อไรที่ผิดปกติ

 ก็จะสามารถผ่านช่วงที่มีปัญหาฝุ่นไปได้ด้วยดีค่ะ

 

พญ.ธัชขวัญ อินทปันตี  

แพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ ศูนย์ภูมิแพ้และแพ้อาหารโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

 

ผลกระทบของ pm2.5 ต่อร่างกาย

ผลกระทบของ pm2.5 ต่อร่างกาย

ผลกระทบของ pm2.5 ต่อร่างกาย

🔸บทความทางการแพทย์

มาอีกแล้ว pm 2.5…ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน เราจะเริ่มเห็นคล้ายหมอกสีขาวบดบังทัศนียภาพของตึกต่างๆ ใช่ค่ะ..pm 2.5มาอีกแล้ว

สาเหตุของการเกิด pm2.5
อย่างที่ทราบกันดีว่า pm2.5คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า pm2.5 มาจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1.ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลัก
2.ควันและฝุ่นที่เกิดการจากเผา เช่น เผาป่า เผาหญ้า
3.ฝุ่นละอองจากภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
แล้วทำไมปริมาณฝุ่นpm2.5จึงมักจะสูงขึ้นในช่วงปลายปี เพราะสภาพอากาศที่นิ่ง ลมไม่พัดทำให้ไม่มีการหมุนเวียนของอากาศ ทำให้ปริมาณpm2.5ซึ่งถูกปล่อยออกมาทุกวันสะสมมากขึ้น จนถึงระดับที่เป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นเราจะพบกับปัญหาpm2.5ในช่วงพฤศจิกายนจนถึงกุมภาพันธ์ทุกปี
ผลกระทบของpm2.5ต่อร่างกาย
ความที่ขนาดของpm2.5เล็กมากทำให้สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายและกระแสเลือดไปก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆภายในของร่างกายได้โดยตรง จนก่อให้เกิดอาการที่ผิดปกติได้หลายระบบ ตั้งแต่

ระบบทางเดินหายใจ แสบจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ แน่นหน้าอก ภูมิแพ้กำเริบ
ระบบผิวหนัง ตุ่ม ผืน นูนแดง
ระบบดวงตา แสบเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล

นอกจากนี้ การที่ร่างกายได้รับpm2.5เข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย เพิ่มความเสียงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และถือเป็นสารก่อมะเร็งก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้

พญ.ธัชขวัญ อินทปันตี  

แพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ ศูนย์ภูมิแพ้และแพ้อาหารโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน